ฟิชชิ่งคืออะไร? ฟิชชิ่งเป็นประเภทหนึ่งของการโจมตีทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์(ส่วนใหญ่มาทางอีเมล)ซึ่งทุกวันนี้ถูกใช้เพื่อล้วงความลับต่างๆทางการเงินของเหยื่อ
เช่นหมายเลขบัตรเครดิต
หรือบัญชีธนาคาร ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเมื่อผู้โจมตีหรือแฮกเกอร์ปลอมเป็นบริษัทห้างร้านหรือนิติบุคคลที่ดูน่าเชื่อถือหลังจากนั้นผู้รับเมลหรือเหยื่อ
จะถูกหลอกให้คลิกลิงค์ที่เป็นอันตรายซึ่งอาจนำไปสู่การติดตั้ง malware ซึ่งอาจทำให้
computer เสียหาย ทั้งยังเป็นหนึ่งในการเปิดช่องทางการโจมตีของ ransomware ในบทความนี้ผมจะนำเสนอประเภทของ
ฟิชชิ่ง ที่เจอกันบ่อยๆ
1.อีเมลของธนาคาร
ท่านจะได้รับอีเมลที่คิดว่าเป็นธนาคารส่งมาให้ ยืนยันตัวตน หรือ อื่นๆ เช่น account locked และจะให้ท่านคลิกลิงค์ที่มีหน้าตาที่เหมือนกับหน้าเมล
หรือ เวป ของแบงค์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสีพื้นหลังหรือมีโลโก้ของแบงค์ และจะนำไปยังลิงค์ที่ดูเหมือนเว็บไซต์ของแบงค์ แต่ที่จริงแล้วเป็นเวปหลอก ซึ่งมันจะนำท่านเข้าไปสู่หน้ากรอกข้อมูลซึ่งหากท่านกรอก
password เข้าไปมันก็สายเกินไปเสียแล้ว…(รอการโจมตีครั้งต่อไปโดยการดัก
OTPจากมือถือ)
2. ลอตเตอรี่ปลอม
อีเมลส่งมาว่าถูกรางวัลจากการชิงโชค
ไม่ว่าจะเป็นจับรางวัลแจ้งชื่อผู้โชคดีหรืออื่นๆ
ซึ่งโดยปกติแล้วโอกาสที่จะเกิดลักษณะนี้กับคนไทยมีน้อยกว่า เพราะว่าปกติแล้วเรามักจะจำได้อยู่แล้วว่าเราชิงโชคกับอะไรบ้าง
เช่นฝาน้ำขวดเครื่องดื่มหรือซื้อหวยลอตเตอรี่ ซึ่งมันก็จะนำไปสู่หน้าเว็บปลอมที่โหลดมาไว้ลักษณะเดียวกันกับข้อ
1
3. แจ้งเตือนอัพเดทข้อมูล
โดยท่านจะได้รับอีเมลจากเอกสารที่แนบมาซึ่งแจ้งว่าให้ทำการ
update ข้อมูลของท่าน
เอกสารเหล่านี้อาจจะส่งมาในรูปแบบขององค์กร บริษัทของท่าน ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า,
ลูกค้าหรือ Vendor ซึ่งทั้งหมดดูปกติมาก แต่สุดท้ายแล้วมันจะมีลิงค์ซึ่งนำไปสู่หน้าเว็บที่ดักรหัสผ่านและชื่อผู้ใช้งาน
ของท่านนั่นเอง
4. ขอรับบริจาค
“คนไทยใจดี” และมักจะเจอช่องทางนี้กันเยอะ ส่วนใหญ่มารับมาในรูปแบบขอรับบริจาคเช่นมีข่าวผู้ป่วยโรคมะเร็งทนทุกข์กับความทรมานมากมาย และส่งเมลแจ้งให้คุณเห็นความทุกข์ยาก ความทรมานของอาการ และมีลิงก์เพื่อที่จะนำไปสู่การบริจาคเงินไม่ว่าจะผ่านทางบัตรเครดิตหรือออนไลน์สุดท้ายแล้วมันจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเช่น
ข้อมูลลับบนบัตรเครดิตหรือเลขบัญชี หรือชื่อนามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิดของท่านถูก Hacker นำไปวิเคราะห์หาทางโจมตีรูปแบบอื่นต่อไป
5.การแอบอ้างบุคคลอื่น
โดยที่อีเมลนี้อาจจะถูกส่งมาในลักษณะของเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือแม้แต่ลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะ
เช่นว่าต้องใช้เงินเร่งด่วนในการจ่ายเงินค่าสินค้า โดยการให้เราเงินออกไปก่อนในขณะเกิดเหตุเร่งด่วน
ซึ่งหากเราหลงเชื่อและคิดว่าเป็นเจ้าตัวจริงๆ เราก็จะทำเป็นต้องโอนเงินหรือใช้บัตรเครดิตกรอก เพื่อชำระเงินให้กับทางปลายทางไปก่อนและนั่นคือสิ่งที่เลวร้าย เพราะว่าสุดท้ายแล้วปลายทางจะรีบถอนเงินออกทันทีและโอกาสที่เราจะได้รับเงินคืนมีน้อยมาก
แหล่งที่มาของบทความ: http://EzineArticles.com/10146591
FreeWebSubmission.com
0 ความคิดเห็น